เลือกเรียนต่อสายอาชีพ สายอาชีพมีสาขาอะไรบ้าง

22/03/2561 | 85,793


     สำหรับใครที่กำลังจะเลือกสอบหรือสมัครเข้าเรียนต่อในยุคนี้ นอกจากจะต้องเลือกเรียนในสายที่ชอบ ที่สนใจ มีความถนัดแล้ว ยังต้องพิจารณาด้วยว่า สายการเรียนที่ตนเองจะศึกษาเล่าเรียนต่อนี้ เมื่อเรียนจบไปจะสามารถนำความรู้ความสามารถ มาใช้หางานทำเพื่อเลี้ยงชีพต่อไปได้หรือไม่


     การเรียนต่อในสายอาชีพ อีกหนึ่งสายการเรียนที่หลายคนมองข้าม แต่หารู้ไม่ว่าความจริงแล้ว เป็นสายที่เรียนจบไปแล้วหางานได้ง่าย มีงานรองรับเยอะ แถมยังรายได้ดีอย่างที่เรียกว่า “เรียนจบมาแล้ว ก็ไม่มีคำว่าตกงาน” อีกต่างหาก เพราะฉะนั้นวันนี้เรามารู้จักกับการเรียนและงานในสายอาชีพกัน


     สายอาชีพ คือ การเรียนหรือการศึกษาเฉพาะทาง โดยเป็นการเน้นให้ผู้ที่เรียนจบออกมาสามารถนำความรู้ความสามารถไปใช้ประกอบอาชีพ หางาน หรือสมัครงานตามสาขานั้นได้ ซึ่งถือว่าผู้ที่เรียนจบมาในสาขาวิชานั้น ๆ เป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพนั้น ๆ และสามารถหางานทำได้เลย ตัวอย่างเช่น


     การเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ หลักสูตร ปวช. เป็นการเรียนและการฝึกวิชาชีพในระดับพื้นฐานในสายงานอาชีพนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถนำไปประกอบอาชีพ และหางานได้ตามความรู้ที่เรียน


     การเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ หลักสูตร ปวส. เป็นการเรียนในระดับวิชาความรู้ที่สูงขึ้นจากระดับ ปวช. โดยเป็นการเรียนที่เน้นความรู้ในด้านเฉพาะทางและความเชี่ยวชาญ ชำนาญเป็นพิเศษมากขึ้น



สาขาวิชาที่เปิดสอนในสายอาชีพมีมากมายและหลากหลายสาขา ได้แก่

  1. สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ได้แก่ สาขาวิชาเครื่องกล ยานยนต์ งานซ่อมบำรุง งานไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สาขางานพิมพ์ เป็นต้น
  2. สาขาวิชาพณิชยกรรมและบริหารธุรกิจ ได้แก่ สาขาการบัญชี การขาย เลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ค้าปลีก การประชาสัมพันธ์ สาขาภาษาต่างประเทศ และสาขาธุรกิจบริการ เป็นต้น
  3. สาขาวิชาศิลปกรรม ได้แก่ สาขางานวิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องปั้นดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพ เครื่องประดับและอัญมณี การพิมพ์ สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ดนตรีสากล และเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ เป็นต้น
  4. สาขาวิชาคหกรรม ได้แก่ สาขาผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบ ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร สาขางานคหกรรมการผลิต คหกรรมบริการ คหกรรมเพื่อการโรงแรม และสาขางานเสริมสวย เป็นต้น
  5. สาขาวิชาเกษตรกรรมและการประมง ได้แก่ สาขางานพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ และการประมงทะเล เป็นต้น
  6. สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ สาขางานการโรงแรม การท่องเที่ยว
  7. สาขาวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ สาขางานเทคโนโลยีสิ่งทอ งานเคมีสิ่งทอ สาขางานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
  8. สาขาวิขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขางานเทคโนโลยีระบบเสียง เป็นต้น

     การเรียนสายอาชีพมีข้อดี คือ ผู้เรียนสามารถทำงานหารายได้ไปด้วยในระหว่างเรียนได้ ด้วยการใช้ความรู้ความสามารถทักษะเรียนมา นอกจากนี้นักเรียนนักศึกษาที่เรียนสายอาชีพยังสามารถจบออกไปหางานในสายงานนั้น ๆ ได้เลย หรือหากต้องการศึกษาเล่าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ก็สามารถศึกษาต่อไปได้เช่นเดียวกับนักเรียนที่เลือกเรียนมาในสายสามัญ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก


งานสายอาชีพที่ตลาดงานมีความต้องการสูง

     จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลขององค์กร 16 ชั้นนำของประเทศจากธนาคารกรุงไทยในปี พ.ศ. 2560 (ข้อมูลอ้างอิง : https://goo.gl/Ru1HDi) พบว่าสายงานอาชีพเป็นสายงานที่มีความต้องการสูงในอนาคต เหมาะกับผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ เพื่อให้สอดคล้องกับการมองหางานทำในอนาคต ซึ่งสายงานที่อยู่ในความต้องการ ได้แก่

  1. สายงานวิศวกรรม ได้แก่ วิศวกรสิ่งแวดล้อม วิศวกรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล วิศวกรนาโน
  2. สายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักพัฒนาเกมและแอพพลิเคชั่น
  3. สายงานด้านบัญชีและการเงิน ได้แก่ ผู้ตรวจสอบบัญชี นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ที่ปรึกษาทางการเงิน
  4. สายงานด้านการออกแบบ ได้แก่ สถาปนิก ครีเอทีฟ และนักออกแบบโลกเสมือนจริง (Augmented Reality)

     นอกจากนี้ จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสำหรับปีพ.ศ. 2561 (ข้อมูลอ้างอิง : https://goo.gl/aRvgTZ) พบว่างานในสายอาชีพที่มีความโดดเด่นได้รับความนิยม และเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเป็นแนวทางให้กับนักเรียนนักศึกษาที่กำลังตัดสินใจเลือกเรียนต่อ สำหรับการหางานทำในอนาคต ได้แก่ สายงานด้านวิศวกรรม วิศวกรซอฟต์แวร์และนักพัฒนา นักวิเคราะห์ข้อมูล นักออกแบบและวิเคราะห์ระบบด้านไอที นักการตลาด นักการเงิน นักออกแบบ กราฟิกดีไซน์ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหาร ผู้ผลิตและคิดค้นผลิตภัณฑ์ทางด้านความงาม เครื่องสำอาง อาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว สตาร์ทอัพ และอีคอมเมิร์ซ อาชีพนักแสดง ดารา นักร้อง สถาปนิก มัณฑนากร อาชีพเกี่ยวกับโลจิสติกส์และการขนส่ง และอาชีพในสายงานด้านการบัญชี


     ไม่เพียงเท่านั้นกรมการจัดหางาน ยังได้มีการเปิดเผยแนวโน้มความต้องการจ้างงานในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ถึงความต้องการแรงงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ใน 5 งานสายอาชีพ ที่ใครจบมาจะสามารถหางานได้ง่ายเนื่องจากเป็นที่ต้องการ ได้แก่ สาขาเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ท่องเที่ยงเชิงสุขภาพ และหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นงานสายอาชีพที่มีความต้องการสูงในอีก 5 ปีข้างหน้า (ข้อมูลอ้างอิง : https://goo.gl/nd1Lg9)


     เมื่อคุณได้รู้จักและทราบข้อดีของการเรียนต่อสายอาชีพกันแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงจะมีทางเลือกในการตัดสินใจเลือกสายการเรียนได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้จบมาสามารถหางานทำได้ง่าย มีงานรองรับ ในอัตรารายได้ที่พอใจและสามารถเลี้ยงดูตัวเอง ครอบครัว รวมถึงสามารถต่อยอดไปสู่การประกอบธุรกิจอื่น ๆ ได้ต่อไป

บทความอื่นๆ

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INFJ บุคลิกของผู้แนะนำ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 06/11/2567
  • 143

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISFJ ผู้ให้ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 28/10/2567
  • 139

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - INTP นักวิเคราะห์ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 24/10/2567
  • 144

แนะนำ 5 อาชีพสำหรับ MBTI - ISTJ ผู้ตรวจสอบ จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 11/10/2567
  • 211

แนะนำ 5 อาชีพ สำหรับชาว Introvert ที่เตรียมตัว หางาน สมัครงาน จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • 09/10/2567
  • 178

แนะนำสาขาสายอาชีพ เรียนจบ ไม่ตกงาน

  • 04/10/2567
  • 285

สอนทำเรซูเม่กับ 4 ไอเดียสำหรับสายอาชีพ - อาชีวศึกษา

  • 02/10/2567
  • 163

วิศวกรระดับ 4 คือตำแหน่งที่หลายคนในวงการวิศวกรรมใฝ่ฝันจะก้าวไปให้ถึง

  • 17/09/2567
  • 211
Top